กระทู้แนะนำ
ดู: 2188|ตอบกลับ: 0

[คลิปติวสอน] ศาสนพิธี ตอนที่๑ อารัมภบท พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

[คัดลอกลิงก์]

494

กระทู้

496

โพสต์

2012

เครดิต

ผู้ดูแลระบบ

Rank: 10Rank: 10Rank: 10

UID
1
เครดิต
2012
พลังน้ำใจ
0
เงิน
1516
ความดี
0
เพศ
ไม่บอก
โพสต์
496
ลงทะเบียน
2020-9-30
ล่าสุด
2024-1-22
ออนไลน์
667 ชั่วโมง
จำนวนผู้ติดตาม
0
ทักทาย
0
บล็อก
0
เพื่อน
0
สำคัญ
0
ผู้ขายเครดิต
ผู้ซื้อเครดิต

เข็มประดับยศ 1เข็มประดับยศ 2เข็มประดับยศ 3เข็มประดับยศ 4เข็มประดับยศ 5เข็มประดับยศ 6เข็มประดับยศ 7เข็มประดับยศ 8เข็มประดับยศ 9เข็มประดับยศ 10

ศาสนพิธี ตอนที่๑ อารัมภบท พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ธรรมศีกษาชั้นตรี : ระดับประถมศึกษา


ความหมายของศาสนพิธี
            ศาสนพิธี มาจากคำว่า “ศาสน” หรือ “ศาสนา” คือ คำสอน กับคำว่า “พิธี” คือ แบบอย่าง หรือแบบแผนต่าง ๆ รวมเป็นคำว่า ศาสนพิธี หมายถึง แบบอย่าง หรือแบบแผนต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติในทางพระศาสนา         
              ท่านผู้รู้บางท่านเปรียบพิธีกรรมหรือศาสนพิธีว่าเป็นเหมือนเปลือกหรือกระพี้ที่ห่อหุ้มแก่นของต้นไม้ คือ แก่นแท้ของศาสนาไว้  แต่ความจริงทั้งสองส่วนนี้จะต้องอาศัยกันและกันกล่าวคือหากไม่มีแก่นแท้ของศาสนา  ศาสนพิธีก็อยู่ไม่ได้นานหรือหากมีเฉพาะแก่นแท้ของศาสนา แต่ไม่มีศาสนพิธี  แก่นแท้ของศาสนาก็อยู่ได้ไม่นาน เช่นเดียวกับต้นไม้ที่มีแต่เปลือกไม่มีแก่นหรือมีแต่แก่นไม่มีเปลือก ฉะนั้น

องค์ประกอบของศาสนา
            ศาสนา แปลว่า คำสอน หมายถึงหลักธรรมคําสอนของศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนานั้นๆ รวมทั้งหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง
            ศาสนาโดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สําคัญ ๕ ประการคือ
            ๑. ศาสดา ผู้ก่อตั้งศาสนาศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยและได้รับการรับรองจากทางราชการ คือ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม สิกข์หรือซิกข์ล้วนมีศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาทั้งสิ้น ยกเว้นศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเท่านั้นไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้งเป็นศาสนาที่นับถือสืบต่อกันมาแต่โบราณ
            ๒. ศาสนธรรม หลักธรรมคําสอนที่ศาสดาประกาศเผยแผ่แก่ชาวโลก
            ๓. ศาสนิกหรือสาวก คือผู้รับฟังหลักธรรมคำสั่งสอนที่ศาสดาประกาศแล้วมีศรัทธาเลื่อมใสและปฏิบัติตาม
            ๔. ศาสนสถานหรือศาสนวัตถุ คือสถานที่ใช้ประกอบพิธีของศาสนานั้นๆ หรือรูปเคารพของศาสดา เป็นต้น
            ๕. ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมทางศาสนาซึ่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อในหลักธรรมคําสอน

            ศาสนพิธีเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทีหลังศาสนา หมายความว่า มีศาสนาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงมีพิธีกรรมต่าง ๆ เกิดตามมาภายหลัง
            เหตุเกิดศาสนพิธีเนื่องจากหลักการของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อันเรียกว่า “โอวาทปาฏิโมกข์” ในโอวาทปาฏิโมกข์นั้น มีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆ ไป ๓ ประการ คือ
            ๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง
            ๒. สอนให้อบรมกุศลให้ถึงพร้อม
            ๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส
           การพยายามทำตามคำสอนในหลักการนี้เป็นการพยายามทำความดีที่เรียกว่า ทำบุญ และการทำบุญนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุคือที่ตั้งแห่งการทำบุญไว้โดยย่อ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มี ๓ ประการ คือ
            ๑. ทาน    การบริจาคสิ่งของของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
            ๒. ศีล      การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อย ไม่ล่วงพุทธบัญญัติที่ทรงห้าม
            ๓. ภาวนา การอบรมจิตใจให้ผ่องใสในการกุศล
            บุญกิริยาวัตถุนี้ เป็นแนวทางให้พุทธบริษัทประพฤติตามหลักการที่กล่าวข้างต้นและเป็นเหตุให้เกิดศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นโดยนิยม

ประโยชน์ของศาสนพิธี
            ๑. ทำให้พิธีมีความถูกต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย สำเร็จประโยชน์ตามวัตถุประสงค์
            ๒. ทำให้เกิดศรัทธาความเลือมใสแก่ผู้พบเห็น
            ๓. เป็นเครื่องแสดงเกียรติยศของเจ้าภาพและผู้ร่วมงานพิธี
            ๔. รักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชาติ
            ๕. สามารถจรรโลงให้พระพุทธศาสนามีความเจริญยั่งยืนสืบไป

พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
            การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของตน  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือพุทธมามกะว่า  การแสดงตนให้ปรากฎว่า เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา  ได้ทำกันมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล  เป็นกิจจำเป็นทำสมัยคราวที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นใหม่ เพื่อแสดงให้รู้ว่าตนละลัทธิเดิม รับเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่นับถือ   โดยใจความ หมายถึง พิธีแสดงตนเป็นชาวพุทธอย่างเป็นทางการนั่นเอง
            การแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีวัตถุประสงค์ต่างกัน โดยสมควรแก่บริษัทดังนี้
            ๑. ผู้เป็นบรรพชิตนอกพระพุทธศาสนามาก่อน มาทูลขอบรรพชาอุปสมบท  พระพุทธเจ้าจะทรงประทานอุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา แม้คฤหัสถ์ก็ทรงรับโดยวิธีเดียวกัน
            ๒. ผู้มาขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระสาวก รับถือเพศตามพระสาวกก่อนแล้วเปล่งวาจาถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ๓ ครั้ง เรียกว่า
ติสรณคมนูปสัมปทา ต่อมาใช้เป็นพิธีบรรพชาสามเณร
            ๓. คฤหัสถ์ผู้ไม่ประสงค์จะบวช ปฏิญาณตนถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ  ชายเป็นอุบาสก หญิงเป็นอุบาสิกา หรือมิได้กล่าวปฏิญาณตน แต่นับถือสืบกันมา ได้กราบไหว้บูชาสัการะตามประเพณีก็ได้เช่นกัน
            การแสดงตนเป็นพุธมามกะไม่จำเพาะต้องทำคราวเดียว  ทำซ้ำหลายครั้งก็ได้เพื่อให้มั่นคงยิ่งขึ้น
            โดยสรุปจำแนกเป็น ๒ ประเภทตามวัตถุประสงค์ของผู้นับถือ คือ
            ๑. เป็นพุทธมามกะด้วยการบรรพชาอุปสมบทเป็นนักบวช
            ๒. เป็นพุทธมามกะด้วยการแสดงตนเป็นอุบาสก-อุบาสิกา
            การแสดงตนเป็นพุธมามกะแบบที่ ๒ นี้ แต่เดิมไม่มีรูปแบบตายตัว  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงส่งพระราชโอรสไป ศึกษาในยุโรปหลายพระองค์ (รวมทั้งเจ้าขุนมูลนายก็นิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศกันมากเช่นกัน) พระราชโอรสบางพระองค์ยังทรงพระเยาว์และไม่เคยผนวชเป็นสามเณรมาก่อน พระองค์ทรงปริวิตกว่า พระราชโอรสยังไม่รู้สึกมั่นคงในพระพุทธศาสนา จึงจึงทรงโปรดให้พระราชโอรสผู้ไม่เคยผนวชเป็นสามเณร ปฏิญาณพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา  ก่อนเสด็จออกไปศึกษาในยุโรป  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระองค์แรกที่ปฏิญาณพระองค์ ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่นั้น  ผู้อื่นนอกจากพระราชวงศ์เห็นชอบตามพระราชดำริ  จึงได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อป้องกันลูกหลานไม่ให้หันไปนับถือศาสนาอื่น  จึงทรงกำหนดพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้น  และได้ยึดถือเป็นแบบปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า ทัฬหีกรรม
            ด้วยเหตุนี้การแสดงตนเป็นพุทธมามกะจึงพอสรุปวัตถุประสงค์ได้ดังนี้
            ๑. เมื่อบุตรหลานของตนเจริญวัยอยู่ในระหว่างอายุ ๑๒-๒๕ ปี ประกอบพิธีให้บุตรหลานของตนแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  เพื่อให้เด็กสืบทอดความเป็นพุทธศาสนิกชนตามสกุลวงศ์
            ๒. เมื่อบุตรหลานซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว  ไปศึกษาในประเทศที่นับถือศาสนาอื่น นิยมประกอบพิธีให้บุตรหลานแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  เพื่อต้องการให้เด็กระลึกถึงตนอยู่เสมอว่าเป็น พุทธศาสนิกชน  
            ๓. เมื่อจะปลูกฝังให้เยาวชนมั่นคงในพระพุทธศาสนา  โรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนชาวพุทธ  นิยมนำนักเรียนที่เข้ารับการศึกษาใหม่ หรือรวมทั้งหมดก็ได้  แสดงตนเป็นพุทธมามกะปีละ ๑ ครั้ง  เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญในการนับถือพระพุทธศาสนา
            ๔. เมื่อบุคคลที่นับถือศาสนาอื่น เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ต้องการประกาศตนนับถือพระพุทธศาสนา   ก็ประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะเพื่อประกาศตนว่า  นับแต่นี้ไป ข้าพเจ้ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนา

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x

ที่อยู่ลิ้งก์: 

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ธรรมสว้สดี สมัครวันนี้เพื่อสิทธิ์ใช้งาน
ตอบกระทู้ได้
ได้เพื่อน ได้พูดคุย
ร่วมกิจกรรมสนุก
ดาวน์โหลดไฟล์
สร้างบล็อกและอัพภาพถ่าย
เรียนรู้เรื่องต่างๆ
Dear Guest, thank you to www.i-520.net

เว็บไซต์นี้ มีการใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้